สมัยอบูบักร์ (ค.ศ. 632–634) ของ คอลิด อิบน์ อัลวะลีด

ครอบครองทั้งคาบสมุทรอาหรับ

ดูสารนิเทศเพิ่มเติมที่: สงครามริดดะฮ์
แผนที่เส้นทางที่คอลิดครอบครองทั้งคาบสมุทรอาหรับ

หลังจากมุฮัมมัดเสียชีวิต เผ่าอาหรับหลายเผ่าได้ก่อกบฏต่อรัฐเคาะลีฟะฮ์ เคาะลีฟะฮ์อบูบักร์ได้ส่งทหารไปปราบกบฎและผู้ละทิ้งศาสนา[34] คอลิดจึงเป็นหนึ่งในแม่ทัพที่อบูบักร์สั่งให้มีการวางแผนในสงครามริดดะฮ์โดยให้คำแนะนำว่าเขาต้องเป็นแม่ทัพนำชาวมุสลิมไปที่คาบสมุทรอาหรับตอนกลาง บริเวณที่เป็นศูนย์กลางของกบฎ และมีความเสี่ยงที่พวกเขาจะโจมตีมะดีนะฮ์ได้ง่าย[35]

ในช่วงกลางเดือนกันยายน ค.ศ. 632 คอลิดรบชนะตุลัยฮะฮ์[36]หนึ่งในกบฎที่อ้างตนเองว่าเป็นศาสดาเพื่อที่จะให้ผู้คนสนับสนุนตนเอง จนอำนาจของตนเองได้หมดลงหลังจากแพ้ในสงครามคอมรา[34] หลังจากนั้นคอลิดได้ไปที่นัคราและกำจัดกบฎจากบนูซาลีมในสงครามนัครา สุดท้ายคอลิดได้ครอบครองทั้งแคว้นหลังจากสงครามซาฟัรโดยสู้รบชนะซัลมาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 632[37]

ตอนนี้แคว้นรอบเมืองมะดีนะฮ์เป็นของมุสลิมแล้ว คอลิดจึงนำทัพไปที่แคว้นนัจญ์ ที่มั่นของเผ่าบนูตะมีม. มีหลายพวกที่ยอมพบคอลิดและกฎหมายของเคาะลีฟะฮ์ แต่มาลิก อิบน์ นูวัยเราะฮ์ หัวหน้าเผ่าบนูยัรบูอ์เลี่ยงการติดต่อกับคอลิดและบอกให้ผู้ติดตามแยกย้ายกันหนี โดยที่ครอบครัวของเขาจะหนีไปทางทะเลทราย[38] พร้อมกับประกาศเป็นศัตรูกับรัฐเคาะลีฟะฮ์โดยมีความร่วมมือกับซัจญะฮ์ ผู้หญิงที่อ้างตนเองว่าเป็นศาสดา[39] หลังจากนั้นมาลิกถูกจับพร้อมกับผู้คนของเขา[40] และคอลิดถามว่าทำไมถึงทำอย่างนี้ เขาได้ตอบว่า: "นายของเจ้าได้พูดอย่างนี้ นายของเจ้าได้พูดอย่างนั้น" คอลิดจึงประกาศว่ามาลิกเป็นกบฎผู้ละทิ้งศาสนาพร้อมกับประหารชีวิต[41]

หลังจากการเสียชีวิตของมาลิกแล้ว คอลิดได้จับลัยลา บินต์ อัลมินฮัล ทำให้เกิดข้อโต้แย้ง ทหารของเขาซึ่งรวมไปถึงอบูกอตออะฮ์เชื่อว่าคอลิดฆ่ามาลิกเพื่อเอาภรรยามาเป็นของเขา จนเรื่องนี้ถึงหูของอุมัรที่ปรึกษาของอบูบักร์ แล้วอบูบักรได้เรียกคอลิดให้เข้าพบเพื่ออธิบายว่าทำไมถึงเป็นอย่างนี้[42]

คอลิดได้รบชนะมุซัยลิมะฮ์ คนที่อ้างตนเองว่าเป็นศาสดาในสงครามยะมามะฮ์เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 632 มุซัยลีมะฮ์ถูกฆ่าในสนามรบ และเผ่าที่เป็นกบฏก็ถูกทำลายหมดสิ้น[34]

การรุกรานจักรวรรดิเปอร์เชีย

แผนที่แสดงการพิชิดเมโสโปเตเมียตอนล่าง (อิรัก) ของคอลิด

หลังจากที่ทำลายกบฏหมดแล้วทั้งคาบสมุทรอาหรับจึงอยู่ภายใต้รัฐเคาะลีฟะฮ์ อบูบักร์ต้องการที่จะขยายอาณาจักร[43] จึงส่งคอลิดไปที่อาณาจักรเปอร์เซียพร้อมกับทหาร 18,000 นาย เพื่อยึดครองเมโสโปเตเมียตอนล่าง (ปัจจุบันคือประเทศอิรัก)[44] โดยก่อนที่จะสู้รบนั้น เขาได้เขียนจดหมายไปยังฝ่ายเปอร์เซียว่า:

จงยอมรับอิสลามแล้วเจ้าจะปลอดภัย หรือจะยอมจ่ายจิซยะฮ์ (ภาษี) คุณและผู้คนของเจ้าจะอยู่ในการป้องกันของเรา ไม่เช่นนั้นเจ้าจะต้องโทษแต่ตนเองสำหรับผลที่ตามมา เนื่องจากฉันจะเป็นผู้ทำให้เจ้าตายสมกับที่เจ้ามีชีวิต[45]— คอลิด อิบน์ วะลีด

เขาได้รับชัยชนะอย่างรวดเร็วในสี่สมรภูมิ ได้แก่: สงครามโซ่ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 633; สงครามแม่น้ำ ในช่วงสามสัปดาห์ของเดือนเมษายน ค.ศ. 633; สงครามวาลาจา ในช่วงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 633 และสงครามอุลลัยส์ ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 633[46] ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 633 อัลฮิราเมืองหลวงประจำแคว้นเมโสโปเตเมียตอนล่างตกเป็นของมุสลิม โดยชาวเมืองยอมจ่ายจิซยะฮ์ (ภาษี) และสัญญาว่าจะช่วยฝ่ายมุสลิม[47] หลังจากให้กองทัพพักผ่อนแล้ว คอลิดได้นำกองทัพบุกเมืองอันบาร์ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 633 แล้วล้อมเมืองจนกระทั่งพวกเขายอมแพ้ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 633[48] แล้วไปทางตอนได้พร้อมกับยึดเมืองอัยนุลตัมร์ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 633[49]

ตอนนี้เกือบทั้งเมโสโปเตเมียตอนล่าง (แคว้นยูเฟรทีสตอนเหนือ) อยู่ภายใต้การควบคุมของคอลิดแล้ว แต่มีจดหมายถึงคอลิดว่าที่ดุมาตุลญันดัล อิยาด อิบน์ คันม์ ถูกล้อมรอบโดยพวกกบฎ คอลิดจึงต้องลงไปจัดการกับกบฎในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 633[46] ในตอนที่เขาคอลิดกำลังกลับไปที่เมโสโปเตเมีย คอลิดได้บอกว่า เขาแอบไปที่มักกะฮ์เพื่อไปทำ ฮัจญ์[50]

ในตอนที่เขากลับมาจากอารเบีย คอลิดได้รู้จากคนสอดแนมว่ามีกองกำลังทหารเปอร์เซียและชาวอาหรับคริสเตียนขนาดใหญ่[46]ประจำค่ายอยู่สี่ที่ในแคว้นยูเฟรติส ได้แก่เมือง ฮานาฟิซ, ซูมัยล์, ซานิย์ และบริเวณที่ทหารมากที่สุดคือเมืองมูซัยยะฮ์ คอลิดจึงพยายามเลี่ยงสงครามแบบประชันชิดกับกองทัพเปอร์เซียและตัดสินใจบุกทำลายค่ายแต่ละค่ายในเวลากลางคืนโดยการแบ่งทหารเป็นสามหน่วย[51] แล้วจัดการกับกองทัพเปอร์เซียตอนกลางคืน โดยเริ่มที่มูซัยยะฮ์, ซานิย์ และซูมัยล์ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 633[52]

ชาวมุสลิมชนะชาวเปอร์เซียในการยึดเมโสโปเตเมียตอนล่างและเมืองทีไซฟอน (Ctesiphon) ที่ไม่มีทหารเฝ้าเมืองอยู่ ก่อนที่จะโจมตีเมืองหลวงของเปอร์เซีย คอลิดตัดสินใจว่าต้องจัดการทหารทางทิศใต้และตะวันตก พร้อมกับเคลื่อนทัพไปที่ชายเมืองฟิราซ แล้วรบชนะกองทหารผสมที่มีทหารเปอร์เซีย, ไบเซนไทน์ และอาหรับคริสเตียนพร้อมกับยึดป้อมปราการในสงครามฟิราซ ช่วงเดือนธันวาคม ค.ศ. 633[53] นี่จึงเป็นสงครามสุดท้ายเพื่อที่ครอบครองเมโสโปเตเมียตอนล่าง

ระหว่างที่อยู่ในอิรัก คอลิดได้ตำแหน่งผู้ว่าราชการทหารในบริเวณที่ครอบครอง[54]

การรุกรานจักรวรรดิไบแซนไทน์

แผนที่แสดงการรุกของรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีนที่ลิแวนต์

หลังจากยึดแคว้นในจักรวรรดิเปอร์เซียได้แล้ว เคาะลีฟะฮ์อบูบักร์จึงมีรับสั่งให้ไปบุกรุกที่ซีเรีย โดยให้มีการแบ่งทหารเป็นสี่ส่วน แต่ละกลุ่มมีจุดหมายที่แตกต่างกัน ส่วนฝั่งไบเซนไทน์ได้รวบรวมทหารจากทุกค่าย[55] สิ่งนี้ทำให้ทหารมุสลิมไม่สามารถเดินแถวไปยึดซีเรียตอนกลางหรือเหนือได้[56]

เส้นทางที่จะไปซีเรียมีสองทาง โดยเส้นทางแรกเป็นทางไปเดามะตุลญันดัล (ปัจจุบันคือ ซะกากา) และอีกทางคือผ่านเมโสโปเตเมียทางเมืองรักกา ตอนนี้ทหารมุสลิมอยู่ที่ซีเรียแล้ว คอลิดจึงเลี่ยงเส้นทางไปเดามะตุลญันดัล เนื่องจากระยะทางไกลและใช้เวลาหลายสัปดาห์ที่จะไปถึงซีเรีย และเลี่ยงเส้นทางผ่านเมโสโปเตเมีย เพราะมีค่ายทหารโรมันอยู่ที่ซีเรียตอนเหนือและเมโสโปเตเมีย[57] คอลิดจึงเลือกทางไปซีเรียโดยผ่านทะเลทรายซีเรีย[58] และสั่งให้เดินขบวนผ่านทะเลทรายโดยไม่ต้องดื่มน้ำเป็นเวลาสองวัน[55] ก่อนที่จะถึงโอเอซิส คอลิดได้บอกให้พวกเขาเก็บน้ำไว้ใช้ในยามจำเป็น แล้วให้อูฐดื่มน้ำทันทีหลังจากไม่ได้ดื่มเป็นเวลานาน โดยอูฐจะเก็บน้ำไว้ในท้องของมัน ซึ่งจะทำให้พวกเขาอาจจะต้องฆ่าอูฐเพื่อที่จะเอาน้ำ ถ้าจำเป็น[58]

แผนที่แสดงเส้นทางที่คอลิดบุกรุกที่ซีเรีย

คอลิดเข้าไปที่ซีเรียในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 634 แล้วยึดเมืองซาวา อะรัก, ปัลมิยรา, อัลซุคนะฮ์ และสู้รบเพื่อยึดครองเมืองอัลกอรยาตัยน์ และฮุววาริน หลังจากนั้นจึงไปต่อที่บัสรา เมืองที่อยู่ใกล้ชายแดนซีเรีย-อารเบียและเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรคอสซานิด ประเทศราชของจักรวรรดิไบเซนไทน์ตะวันออก เขาข้ามเมืองดามัสกัสโดยการข้ามทางภูเขาเพื่อจะไปที่มะราจ อัลราฮาต เพื่อสู้กับพวกคอสซานิด[59]

เมื่อข่าวมาถึงคอลิดแล้ว อบูอุบัยดะฮ์จึงสั่งให้ชูรฮาบิล อิบน์ ฮาซานา หนึ่งในสี่แม่ทัพไปโจมตีเมืองบัสราโดยมีทหาร 4,000 นาย โดยที่ทหารไบเซนไทน์และอาหรับคริสเตียนไม่สามารถต้านทานได้[60] และยึดเมืองได้ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 634 ทำให้ราชวงศ์คอสซานิดต้องถึงจุดจบ[61] หลังจากยึดเมืองบัสราได้แล้ว คอลิดจึงนำทหารทั้งหมดไปที่อัจนาดัยน์แล้วสู้กับทหารไบเซนไทน์ในวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 634[62]

หลังจากทหารไบเซนไทน์พ่ายแพ้ในสงครามอัจนาดัยน์ คอลิดตัดสินใจยึดเมืองดามัสกัส ที่ยึดมั่นของทหารไบเซนไทน์ ในขณะเดียวกันที่ดามัสกัส โทมัส ลูกเขยของจักรพรรดิเฮราคลิอุส กำลังเสริมการป้องกันในเมือง[63] รู้ว่าคอลิดกำลังมาที่นี่ เขาจึงเขียนจดหมายไปยังจักรพรรดิเฮราคลิอุสเพื่อต้องการทหารเพิ่ม และที่มากกว่านั้น เขาต้องการที่จะหยุดการเดินทางของคอลิดโดยนำกองทัพออกไปรบ พร้อมกับแบ่งไปที่เมืองยากูซาและมาราจ อัส-ซัฟฟารในวันที่ 19 สิงหาคม.[64] โดยขณะเดียวกัน กองทัพของเฮราคลีอุสได้มาถึงดามัสกัสในวันที่ 20 สิงหาคม คอลิดจึงแยกกองทัพโดยให้ส่วนหนึ่งไปทางตอนใต้ (ทางไปปาเลสไตน์) ,ตอนเหนือ (ทางไปดามัสกัส-เอมีซา) และกองทัพเล็กๆ ไปที่ดามัสกัส ทหารของจักรพรรดิเฮราคลิอุสได้รู้เรื่องนี้แล้วเดินทางไปทางของคอลิดแล้วก่อสงครามที่ซานิตา อัลอุกอบ ซึ่งอยู่ห่างจากดามัสกัสไป 30 กม.[65]

คอลิดจึงสู้และยึดครองซีเรียในวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 634 หลังจากล้อมเมืองไป 30 วัน มีรายงานว่า ยุทธวิธีครั้งนี้อาจจใช้เวลาประมาณ 4 - 6 เดือน[66] จักรพรรดิเฮราคลีอุสได้ข่าวมาว่าเมืองซีเรียถูกยึดแล้ว จึงเหลือแค่เมืองแอนติออกในเอมีซา หลังจากสู้รบแล้ว คอลิดจึงใช้ทางลัดที่ไม่รู้จักเพื่อที่จะสู้รบกับกองทัพต่อ[67] โดยอยู่ห่างจากดามัสกัสทางตอนเหนือไป 150 กม. ในขณะเดียวกัน อบูบักร์เสียชีวิตในระหว่างสงครามดามัสกัส แล้วอุมัรกลายเป็นเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป

แหล่งที่มา

WikiPedia: คอลิด อิบน์ อัลวะลีด http://www.britannica.com/eb/article-9045249 http://www.meccabooks.com/342-khalid-bin-al-waleed... http://www.meccabooks.com/companions/648-khalid-bi... http://military.hawarey.org/military_english.htm //www.jstor.org/stable/1596048 http://www.witness-pioneer.org/vil/Books/SM_tsn/ch... //www.worldcat.org/oclc/36884186 https://books.google.com/?id=2aOpeBnbxvsC&pg=PA289... https://books.google.com/?id=VdXMK4CYRToC&pg=PR9#v... https://books.google.com/?id=VdXMK4CYRToC&printsec...